วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

การรู้คิดของมนุษย์และคอมพิวเตอร์


การรู้คิดของมนุษย์และคอมพิวเตอร์





      คนเรามีหลักการทำงานเป็น  3  ขั้นตอน  คือ    รับรู้   คิด  และโต้ตอบ


 
        รับรู้           คือ   การรับข้อมูลเข้าสู่ในร่างกายทางอวัยวะต่างๆ  
         
คิด             คือ   การคิดหรือประมวลผลภายในสมอง
        
โต้ตอบ       คือ   การแสดงผลลัพธ์หรือปฏิกิริยาโต้ตอบทางร่างกาย   เช่น  ถ้าเราเอามือของเราไปแตะแก้วที่ใส่น้ำร้อนจัด  จะรับรู้ถึงความร้อนที่ผ่านจากแก้วมาที่มือแล้วส่งความรู้สึกไปที่สมอง   สมองเราก็จะคิดว่าร้อนมาก  และสั่งว่าต้องรีบเอามือออก  ปฏิกิริยาโต้ตอบของเราก็คือ   รีบเอามือออกจากแก้วน้ำร้อนนั้น





      หรือถ้าครูให้โจทย์คณิตศาสตร์นักเรียนมาหนึ่งข้อ  คือ  ให้หาคำตอบของ  10  บวก  10  ให้นักเรียนคิดหาคำตอบและตอบครู  นักเรียนจะมีวิธีการขั้นตอนทำงานดังนี้ 






การทำงานของคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายกับคน  คือ  รับรู้   คิด  และโต้ตอบ เป็น  3  ขั้นตอนเช่นกัน    แต่เครื่องคอมพิวเตอร์มีอวัยวะในการรับรู้   คิด และโต้ตอบต่างจากคน คือ
    รับรู้ข้อมูลที่ป้อนผ่านทางแป้นพิมพ์    คิดประมวลผลด้วยหน่วยประมวล     โต้ตอบหรือแสดงผลลัพธ์
ที่เปรียบเหมือนอวัยวะรับรู้ของ   => ผลกลางที่เปรียบเหมือนสมองของ => ผ่านทางจอภาพที่เปรียบเหมือน
เครื่องคอมพิวเตอร์  โดยพิมพ์         เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการ              อวัยวะโต้ตอบของเครื่องคอม
          
10 + 10  ทางแป้นพิมพ์              คำนวณ  10 + 10 = 20           พิวเตอร์แสดงคำตอบ 20

 

 
อวัยวะของคนที่ทำหน้าที่ช่วยในการประมวลผล
              
1. อวัยวะในการรับรู้ข้อมูลของคนมีหลายอย่างดังนี้
                    1.1  การรับรู้จากการสัมผัสด้วยมือ  เช่น  รับรู้ว่าร้อนหรือเย็น   แข็ง หรือ  อ่อนนุ่ม   เรียบหรือขรุขระ
                    1.2  การรับรู้จากการสัมผัสดวยลิ้น   เช่น  รับรู้ว่าร้อนหรือเย็น  รับรู้รสต่างๆ
                    1.3  การรับรู้จากการสัมผัสด้วยตา    เช่น  การรู้ด้วยการมองเห็นภาพ   ตัวอักษร  หรือตัวเลข
                    1.4  การรับรู้จากการสัมผัสด้วยหู     เช่น   รับรู้ด้วยการได้ยิน  ได้ฟังเสียง
                    1.5  การรับรู้จากการสัมผัสด้วยจมูก   เช่น  รับรู้ด้วยการได้กลิ่นต่างๆ
              
2. อวัยวะในการคิดประมวลผลของคน  คือ  สมอง และความรู้สึกที่จดจำไว้ในสมอง
              
3. อวัยวะในการโต้ตอบหรือแสดงผล  
มีหลายอย่าง  ดังนี้
                    3.1 การโต้ตอบหรือแสดงผลทางปาก   เช่น  การแสดงคำตอบด้วยการพูด
                    3.2 การโต้ตอบหรือแสดงผลทางมือหรือร่างกาย   เช่น  การแสดงคำตอบด้วยภาษามือ   ภาษาท่าทาง  การเขียนคำตอบลงกระดาษ  ฯลฯ
                    3.3 การโต้ตอบหรือแสดงผลทางสีหน้า   เช่น   การแสดงคำตอบด้วยสีหน้า   ท่าทาง


ตารางเปรียบเทียบอวัยะคนกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ขั้นตอนอวัยวะของคนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
รับรู้ตา
มือ
หู
 จมูก
ลิ้น
แป้นพิมพ์ (Keyboard)
เมาส์ (Mouse)
เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก
(Magnetic Card Reader)
อุปกรณ์แปลงสัญญาณเสียง
(Multimedia
คิดสมองหน่วยประมวลผลกลาง
(CPU : Central Processing Unit)
โต้ตอบปาก
มือ
ร่างกาย
จอภาพ (Monitor)
เครื่องพิมพ์ (Printer)
ลำโพง  หูฟัง  (Speaker)





มาดูคลิปที่น่าสนใจจาก YouTube



อ้างอิงจาก
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษา
e-mail: webmaster@thaigoodview.com
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/ubon/anocha_s/ipst2456/unit4.htm
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/ubon/anocha_s/ipst2456/unit4_2.htm#

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

(Artificial Intelligence)




หุ่นยนต์ของฮอนด้า ที่รู้จักดีในด้านปัญญาประดิษฐ์

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาตร์ในด้านอื่นๆอย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทำ การให้เหตุผล การปรับตัว หรือการอนุมาน และการทำงานของสมอง แม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่แนวคิดหลายๆ อย่างในศาสตร์นี้ได้มาจากการปรับปรุงเพิ่มเติมจากศาสตร์อื่นๆ เช่น

การเรียนรู้ของเครื่อง นั้นมีเทคนิคการเรียนรู้ที่เรียกว่า การเรียนรู้ต้นไม้ตัดสินใจ ซึ่งประยุกต์เอาเทคนิคการอุปนัยของ จอห์น สจวร์ต มิลล์ นักปรัชญาชื่อดังของอังกฤษ มาใช้ เครือข่ายประสาทเทียมก็นำเอาแนวคิดของการทำงานของสมองของมนุษย์ มาใช้ในการแก้ปัญหาการแบ่งประเภทของข้อมูล และแก้ปัญหาอื่นๆ ทางสถิติ เช่น การวิเคราะห์ความถดถอยหรือ การปรับเส้นโค้ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันวงการปัญญาประดิษฐ์ มีการพัฒนาส่วนใหญ่โดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ อีกทั้งวิชาปัญญาประดิษฐ์ ก็ต้องเรียนที่ภาควิชาคอมพิวเตอร์ของคณะวิทยาศาสตร์หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ เราจึงถือเอาง่าย ๆ ว่า ศาสตร์นี้เป็นสาขาของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั่นเอง

นิยามของปัญญาประดิษฐ์ 
      มีคำนิยามของปัญญาประดิษฐ์มากมาย ซึ่งสามารถจัดแบ่งออกเป็น 4 ประเภทโดยมองใน 2 มิติ ได้แก่ ระหว่าง นิยามที่เน้นระบบที่เลียนแบบมนุษย์ กับ นิยามที่เน้นระบบที่ระบบที่มีเหตุผล (แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนมนุษย์) ระหว่าง นิยามที่เน้นความคิดเป็นหลัก กับ นิยามที่เน้นการกระทำเป็นหลัก

ปัจจุบันงานวิจัยหลักๆ ของ AI จะมีแนวคิดในรูปที่เน้นเหตุผลเป็นหลัก เนื่องจากการนำ AI ไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหา ไม่จำเป็นต้องอาศัยอารมณ์หรือความรู้สึกของมนุษย์ อย่างไรก็ตามนิยามทั้ง 4 ไม่ได้ต่างกันโดยสมบูรณ์ นิยามทั้ง 4 ต่างก็มีส่วนร่วมที่คาบเกี่ยวกันอยู่ นิยามดังกล่าวคือ

ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans)
  • [AI คือ] ความพยายามใหม่อันน่าตื่นเต้นที่จะทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้ ... เครื่องจักรที่มีสติปัญญาอย่างครบถ้วนและแท้จริง ("The exciting new effort to make computers think ... machines with minds, in the full and literal sense." [Haugeland, 1985])
  • [AI คือ กลไกของ]กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การเรียนรู้ ("[The automation of] activities that we associate with human thinking, activities such as decision-making, problem solving, learning." [Bellman, 1978])
หมายเหตุ ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์ลักษณะการคิดของมนุษย์ เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science เช่น ศึกษาการเรียงตัวของเซลล์สมองในสามมิติ ศึกษาการถ่ายเทประจุไฟฟ้า และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกาย ระหว่างการคิด ซึ่งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) เราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร
ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ (Systems that act like humans)
  • [AI คือ] วิชาของการสร้างเครื่องจักรที่ทำงานในสิ่งซึ่งอาศัยปัญญาเมื่อกระทำโดยมนุษย์ ("The art of creating machines that perform functions that requires intelligence when performed by people." [Kurzweil, 1990])
  • [AI คือ] การศึกษาวิธีทำให้คอมพิวเตอร์กระทำในสิ่งที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าในขณะนั้น ("The study of how to make computers do things at which, at the moment, people are better." [Rich and Knight, 1991])
หมายเหตุ การกระทำเหมือนมนุษย์ เช่น
  • สื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวอย่างคือ การแปลงข้อความเป็นคำพูด และ การแปลงคำพูดเป็นข้อความ
  • มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่น คอมพิวเตอร์รับภาพได้โดยอุปกรณ์รับสัมผัส แล้วนำภาพไปประมวลผล
  • เคลื่อนไหวได้คล้ายมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ อย่างการ ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
  • เรียนรู้ได้ โดยสามาถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล (Systems that think rationally)
  • [AI คือ] การศึกษาความสามารถในด้านสติปัญญาโดยการใช้โมเดลการคำนวณ ("The study of mental faculties through the use of computational model." [Charniak and McDermott, 1985])
  • [AI คือ] การศึกษาวิธีการคำนวณที่สามารถรับรู้ ใช้เหตุผล และกระทำ ("The study of the computations that make it possible to perceive, reason, and act" [Winston, 1992])
หมายเหตุ คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถูกต้อง เช่น ใช้หลักตรรกศาสตร์ในการคิดหาคำตอบอย่างมีเหตุผล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ

ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล (Systems that act rationally) 
     ปัญญาประดิษฐ์คือการศึกษาเพื่อออกแบบเอเจนต์ที่มีปัญญา ("Computational Intelligence is the study of the design of intelligent agents" [Poole et al., 1998])
  • AI เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่แสดงปัญญาในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ("AI ... is concerned with intelligent behavior in artifacts" [Nilsson, 1998])
หมายเหตุ กระทำอย่างมีเหตุผล เช่น เอเจนต์ (โปรแกรมที่มีความสามารถในการกระทำ หรือเป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่าง ๆ) สามารถกระทำอย่างมีเหตุผลเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เช่น เอเจนต์ในระบบขับรถอัตโนมัติ ที่มีเป้าหมายว่าต้องไปถึงเป้าหมายในระยะทางที่สั้นที่สุด ต้องเลือกเส้นทางที่ไปยังเป้าหมายที่สั้นที่สุดที่เป็นไปได้ จึงจะเรียกได้ว่า เอเจนต์กระทำอย่างมีเหตุผล อีกตัวอย่างเช่น เอเจนต์ในเกมหมากรุก ที่มีเป้าหมายว่าต้องเอาชนะคู่ต่อสู้ ก็ต้องเลือกเดินหมากที่จะทำให้คู่ต่อสู้แพ้ให้ได้ เป็นต้น
สาขาของปัญญาประดิษฐ์


      หนังสืออ้างอิงที่ดีและทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน คือของ Russell and Norvig, 2003 โครงสร้างของปัญญาประดิษฐ์ แสดงสาขาที่เป็นหัวใจของสาขา ความสัมพันธ์ระหว่างสาขา และบทบาทที่มีผลกระทบต่อโลกภายนอก

หัวใจของปัญญาประดิษฐ์
  1. คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer vision)
    เป็นการศึกษาเรื่องการมองเห็น การรู้จำภาพ มีสาขาย่อยเช่น การประมวลผลภาพ (image processing)
  2. การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural language processing)
    เป็นการศึกษาการแปลความหมายจากภาษามนุษย์ มาเป็นความรู้ที่เครื่องจักรเข้าใจได้ สาขานี้เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับ ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ (computational linguistics)
  3. การแทนความรู้ (Knowledge representation)
    เป็นการศึกษาด้านเก็บความรู้ (knowledge) ไว้ในเครื่องจักร โดยมีประเด็นสำคัญคือ
    - ทำอย่างไรจะแสดงความรู้ได้อย่างกระทัดรัด ประหยัดหน่วยความจำ
    - จะนำความรู้ที่เก็บไว้นี้ไปใช้ในการให้เหตุผลอย่างไร ; และ
    - จะมีการเรียนรู้ความรู้ใหม่ ๆ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง ให้ความรู้ที่ได้อยู่ในรูปแบบความรู้ที่เราออกแบบไว้ได้อย่างไร

    การแทนความรู้สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก คือ
    - ความรู้ที่แน่นอน (certain knowledge) เช่น การแทนความรู้ด้วยตรรกศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น first-order logic หรือ propositional logic
    - ความรู้ที่มีความไม่แน่นอนมาเกี่ยวข้อง (uncertain knowledge) เช่น ฟัซซี่ลอจิก (fuzzy logic) และเครือข่ายแบบเบย์ ( bayesian networks)
  4. การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine learning)
    เป็นการศึกษากระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เครื่องจักรสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้คล้ายมนุษย์ มีสาขาย่อยมากมาย เช่น
    - การสังเคราะห์โปรแกรม(program synthesis)
    - การคิดให้เหตุผล (Inference หรือ automated reasoning)
    เป็นการคิดให้เหตุผลเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างอัตโนมัติจากความรู้ที่มีอยู่ในเครื่อง การให้เหตุผลด้วยวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับการแทนความรู้ของเครื่อง (knowledge representation)โดยตรง เทคนิคที่นิยมใช้กันมากก็คือ การเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะ (Logic programming) เมื่อเราแทนความรู้ของเครื่องด้วย first-order logic และ bayesian inference เมื่อเราแทนความรู้ของเครื่องด้วย bayesian networks
    - การวางแผนของเครื่อง (Automated Planning)
    - การค้นหาเชิงการจัด (Combinatorial search)
    เนื่องจากเวลาเราพยายามแก้ปัญหาในงานวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ วิธีมาตรฐานอย่างหนึ่งคือ พยายามมองปัญหาให้อยู่ในรูปปัญหาของการค้นหา การค้นหาจึงเป็นพื้นฐานของการโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แทบทุกประเภท
  5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system)
    เป็นการศึกษาเรื่องสร้างระบบความรู้ของปัญหาเฉพาะอย่าง เช่น การแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ จุดประสงค์ของระบบนี้คือ ทำให้เสมือนมีมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา และคำตอบเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ
    งานวิจัยด้านนี้มีจุดประสงค์หลักว่า เราไม่ต้องพึ่งมนุษย์ในการแก้ปัญหา แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติแล้ว ระบบผู้เชี่ยวชาญยังต้องพึ่งมนุษย์เพื่อให้ความรู้พื้นฐานในช่วงแรก การจะทำงานวิจัยเรื่องนี้ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การแทนความรู้, การให้เหตุผล และ การเรียนรู้ของเครื่อง (กรอบสีเขียวในรูปข้างบน) สาขาอื่นที่สำคัญและมีบทบาทมากในปัจจุบัน
วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) 
การจะสร้างหุ่นยนต์ที่อาศัยอยู่กับมนุษย์ได้จริง ต้องใช้ความรู้ทางปัญญาประดิษฐ์ทั้งหมด นอกจากนั้นยังต้องใช้ความรู้อื่น ๆ ทางเครื่องกล เพื่อสร้างสรีระให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนไหวได้เช่นเดียวกับมนุษย์ ในวงการวิทยการหุ่นยนต์ เขาก็ถือว่าปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาของเขาเช่นกัน

ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic algorithm) 
- เป็นการประยุกต์นำแนวความคิดทางด้านการวิวัฒนาการที่มีอยู่ในธรรมชาติ มาใช้ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์
- เป็นอัลกอริทึมเชิงสุ่ม (stochastic) (ไม่ได้คำตอบเดิมทุกครั้งที่แก้ปัญหาเดิม)
มักประยุกต์ใช้ในปัญหาการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด (optimization) ที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยวิธีมาตรฐานทางคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ แนวคิดที่นำเอาหลักการวิวัฒนาการมาใช้นี้ มีรูปแบบอื่นอีกหลายรูปแบบ เช่น การโปรแกรมเชิงพันธุกรรม (genetic programming) และ evolution strategy อย่างไรก็ตามเทคนิคเหล่านี้มีแนวความคิดหลักเหมือนกัน ต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น

ข่ายงานประสาทเทียม (Neural network) 
- ชีวิตประดิษฐ์ (Artificial life)
เป็นการศึกษาพฤติกรรมของชีวิตเทียมที่เราออกแบบและสร้างขึ้น
- ปัญญาประดิษฐ์แบบกระจาย (Distributed Artificial Intelligence)
ความ เจริญก้าวหน้า ของคอมพิวเตอร์ เป็นไปใน ทุกด้าน ทั้งทางด้าน ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ การที่มี พัฒนาการ เจริญก้าวหน้า จึงทำให้ นักคอมพิวเตอร์ ตั้งความหวัง ที่จะทำให้ คอมพิวเตอร์ มีความฉลาด และช่วยทำงาน ให้มนุษย์ได้มากขึ้น โดยเฉพาะวิทยาการ ด้านปัญญา ประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ซึ่งเชื่อกันว่า จะเป็นวิทยาการที่ จะช่วยให้มนุษย์ใช้ คอมพิวเตอร์ แก้ปัญหาต่างๆ ที่สำคัญ เช่นการให้ คอมพิวเตอร์ เข้าใจ ภาษามนุษย์ รู้จักการ ใช้เหตุผล การเรียนรู้ ตลอดจนการ สร้างหุ่นยนต์

ปัญญาประดิษฐ์ มีความหมายถึง การสร้าง เครื่องจักร ให้สามารถ ทำงาน ได้เหมือนคน ที่ใช้ปัญญา หรืออาจ กล่าวได้ว่า เป็นการ ประดิษฐ์ปัญญา ให้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้ คอมพิวเตอร์ สามารถจำลอง การทำงานต่างๆ เลียนแบบ พฤติกรรม ของคน โดยเน้นแนวคิด ตามแบบ สมองมนุษย์ ที่มีการวาง แผนการเรียนรู้ การให้เหตุผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจน การเลือกแนวทาง ดำเนินการใน ลักษณะคล้ายมนุษย์

ความรู้ ทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์ จึงรวมไปถึง การสร้างระบบ ที่ทำให้ คอมพิวเตอร์ สามารถ มองเห็น และจำแนกรูปภาพ หรือสิ่งต่างๆ ออกจากกัน ในด้าน การฟังเสียง ก็รับรู้ และแยกแยะเสียง และจดจำ คำพูด และเสียงต่างๆ ได้ การสัมผัส และรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร จะต้องมี กระบวนการ เก็บความรอบรู้ การถ่ายทอด การแปลความ และการนำเอา ความรู้มา ใช้ประโยชน์

หากให้ คอมพิวเตอร์ รับรู้ข่าวสาร และเหตุการณ์ ต่างๆ แล้ว ก็สามารถ นำเอา ความรู้ต่างๆ เหล่านั้น มาประมวลผล ได้ ก็จะ มีประโยชน์ได้มาก เช่น ถ้าให้ คอมพิวเตอร์ มีข้อมูล เกี่ยวกับคำศัพท์ มีความเข้าใจ ในเรื่องประโยค และความหมายแล้ว สามารถ ประมวลผล เข้าใจประโยค ที่รับเข้าไป การประมวลผล ภาษาในลักษณะ นี้จึงเรียกว่า การประมวลผล ภาษาธรรมชาติ โดยจุดมุ่งหมาย ที่จะทำให้ คอมพิวเตอร์ มีความสามารถ ในการใช้ภาษา เข้าใจภาษา และนำไปประยุกต์ งานด้านต่างๆ เช่น การตรวจสอบ ตัวสะกดใน โปรแกรมประมวลคำ ตรวจสอบการ ใช้ประโยคที่กำกวม ตรวจสอบ ไวยากรณ์ ที่อาจผิดพลาด และหากมี ความสามารถ ดีก็จะนำไปใช้ ในเรื่อง การแปลภาษาได้

ปัญญาประดิษฐ์ จึงเป็นเรื่องที่ นักวิจัย ได้พยายาม ดำเนินการ และสร้างรากฐาน ไว้สำหรับอนาคต มีการคิดค้น หลักการ ทฤษฎี และวิธีการต่างๆ เพื่อทำให้ คอมพิวเตอร์ สามารถทำงาน อย่างมีเหตุผล มีการพัฒนา โครงสร้างฐาน ความรอบรู้

ปัญญาประดิษฐ์ เป็นวิชาการ ที่มีหลักการต่างๆ มากมาย และมีการนำออกไป ใช้บ้างแล้ว เช่น การแทน ความรอบรู้ ด้วยโครงสร้าง ข้อมูล ลักษณะพิเศษ การคิดหาเหตุผล เพื่อนำข้อสรุป ไปใช้งาน การค้นหา เปรียบเทียบ รูปแบบ ตลอดจน กระบวนการเรียนรู้ ที่เป็นประโยชน์ อย่างมีขั้นตอน เพื่อให้ เครื่องคอมพิวเตอร์ สะสมความรู้ได้เอง



ตัวอย่างคลิปจาก YouTube



อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.kitty.in.th/index.php?room=article&id=61


ปัญญาประดิษฐ์ (AI)


ปัญญาประดิษฐ์ (AI) คิดเหมือนมนุษย์





ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI)
       หมายถึง   ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่นๆ อย่างจิตวิทยา ปรัชญา หรือชีววิทยา ซึ่งสาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการการคิด การกระทการให้เหตุผลการปรับตัว หรือการอนุมาน และการทงานของสมองแม้ว่าดังเดิมนั้นเป็นสาขาหลักในวิทยาการคอมพิวเตอร์
ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans)
        1.1  [AI คือ] ความพยายามใหม่อันน่าตื่นเต้นที่จะทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้ ... เครื่องจักรที่มีสติปัญญา
อย่างครบถ้วนและแท้จริง ("The exciting new effort to make computers think ... machines with
minds, in the full and literal sense." [Haugeland, 1985]) 

        1.2  [AI คือ กลไกของ]กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความคิดมนุษย์ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหาการเรียนรู้
หมายเหตุ  ก่อนที่จะทำให้เครื่องคิดอย่างมนุษย์ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามนุษย์มีกระบวนการคิดอย่างไร ซึ่งการวิเคราะห์  ลักษณะการคิดของมนุษย์ เป็นศาสตร์ด้าน cognitive science
เช่น    -  ศึกษาการเรียงตัวของเซลล์สมองในสามมิติ
           - ศึกษาการถ่ายเทประจุไฟฟ้า
           - วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าในร่างกาย ระหว่างการคิด
ซึ่งจนถึงปัจจุบันเราก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า มนุษย์เรา คิดได้อย่างไร




อ่านใจสุนัขด้วยเครื่องสแกนสมอง


อธิบายคลิป
    คอลลี่ (พันธุ์ฟีสท์ อายุ 2 ปี อยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกเทอร์เรีย มักถูกเลี้ยงเอาไว้เพื่อล่ากระรอก) และแม็คเคนซี่ (พันธุ์บอนเดอร์ คอลลี่ อายุ 3 ปี) นอกจากจะถูกฝึกให้อยู่นิ่งๆ ในอุโมงค์ได้ ยังถูกฝึกให้รับรู้สัญญาณมือจากมนุษย์ โดยถ้ายกมือซ้ายขึ้น หมายความว่ามันจะได้กินฮอทด็อก แต่ถ้ายกมือทั้งสองข้างชึ้เข้าหากัน แปลว่า "อด"
ผลการทดลองพบว่าสมองของสุนัขตอบสนองต่อสัญญาณมือของมนุษย์เป็นอย่างดี (ตามที่เราน่าจะเดาได้แต่ต้น) โดยสัญญาณจากการยกมือซ้ายชี้ขึ้นข้างเดียว (ที่แปลว่ามันจะได้
ฮอทด็อก) จะไปกระตุ้นสมองส่วน caudate ที่จะทำงานเมื่อมันได้รับอาหาร (หรือได้ "รางวัล" ดังนั้นเราจึงเรียกสมองส่วนนี้ว่า "reward system" ซึ่งเป็นสมองที่จะทำให้เราเกิดความรู้สึก "พึงพอใจ"/"ดีใจ" เวลาที่เราได้รับ หรือคาดว่าจะได้รับอาหาร เล่นเกม เสพยา หรือทำอะไรก็ตามที่ทำแล้วมีความสุข)
งานวิจัยนี้เป็นงานแรกที่สแกนสมองในสัตว์ที่ตื่นเต็มตาและไม่ได้ถูกจองจำให้ต้องอยู่นิ่งๆ ซึ่งจะสร้างเทคนิควิธีการวิจัยใหม่ๆ
    เคยสงสัยกันใช่ไหมว่า เวลาที่น้องหมาทำหน้าทำตาหรือแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา แท้จริงแล้วมันคิดอะไรอยู่กันแน่?
ก่อนหน้านี้การทำวิจัยที่ต้องใช้เครื่องสแกนสมองในสัตว์ มีข้อจำกัดตรงที่มันจะขยับตัวอยู่ตลอดเวลา และผลที่ได้จะคลาดเคลื่อน ทำให้เราทำได้แค่สแกนสมองของสัตว์ที่ถูกทำให้สลบ หรือถูกจับให้อยู่นิ่งๆ แล้วเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถสะท้อนการตอบสนองของสมองที่แท้จริงได้
      ล่าสุดนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย
Emory ได้คิดค้นวิธีการที่ทำให้เราสามารถสแกนสมองสุนัขทั้งๆ ที่ยังตื่นอยู่และไม่ถูกจับให้อยู่นิ่งๆ ไว้ได้
โดยพวกเขาได้รับแรงบันดาลใจจากการได้เห็นสุนัขทหารในหน่วย
SEAL ของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ในทีมที่เข้าปะทะและปลิดชีพบิน ลาเด็น ถูกฝึกให้กระโดดขึ้นๆ ลงๆ อากาศยานได้
ถ้าหากสุนัขสามารถถูกฝึกให้ทำเช่นนั้นได้ มันก็ต้องถูกฝึกให้อยู่นิ่งๆ ในเครื่องอุโมงค์
สแกนสมองด้วยสนามแม่เหล็กสั่นพ้อง (
fMRI - ย่อมาจาก functional magnetic resonance imaging) ได้เช่นกัน
     การที่สุนัขสามารถถูกฝึกได้ ให้ความสนใจต่อลักษณะท่าทางของมนุษย์เป็นอย่างดี ทำให้มันเป็นสัตว์เลี้ยงคู่ใจของมนุษย์มานาน และอาจเรียกได้ส่งผลต่อวิวัฒนาการของมนุษย์เองเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นเครื่องสแกนจึงน่าสนใจมากเพราะสามารถตอบโจทย์ได้ว่าสุนัขเข้าใจจิตใจของมนุษย์ได้อย่างไร? สุนัขเข้าใจภาษาของมนุษย์ได้อย่างไร? สุนัขแยกแยะมนุษย์ได้อย่างไร? ใช้การมองเห็นหรือการดมกลิ่นเป็นหลัก? สมองของสุนัขแยกระหว่างมนุษย์และสิ่งอื่นๆ ได้อย่างไร? ทำให้เราสามารถเรียนรู้นิสัยสัตว์ ศึกษาปัญหาของสัตว์เลี้ยงเราได้เป้นอย่างดี เป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์อย่างเราไม่ต้องคาดเดาอีกต่อไปเพรามีเครื่องที่คิดเหมือนเราแม่นยำกว่าเรามาคิดแทนเราแล้ว





จบการนำเสนอ 





สรุปการคิดประเภทต่างๆ



สรุปการคิดประเภทต่างๆ



การคิดแก้ปัญหา 
1. การคิดแก้ปัญหา คือ ความสามารถในการคิดเพื่อแก้ปัญหา โดยใช้ความรู้และ
ประสบการณ์เดิม และความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหา
2. คนที่มีคุณลักษณะในการคิดแก้ปัญหา ได้แก่
3. วิธีการแก้ปัญหา
    หาสาเหตุของปัญหา -หาวิธีที่เหมาะสม -แก้ปัญหา-พิจารณาปัญหา (กำหนดปัญหา) - ตั้งสมมติฐาน -วางแผนแก้ปัญหา-เก็บรวบรวมข้อมูล-วิเคราะห์ข้อมูล/ทดสอบสมมติฐาน -สรุปผล



การคิดเชิงอนาคต 
1. การคิดเชิงอนาคต คือ การคิดเพื่อคาดการณ์ เหตุการณ์ล่วงหน้าเพื่อเตรียมการวางแผนในอนาคตในการทำงาน........ เพื่อให้งานมีความเสร็จสมบูรณ์
2. คนที่มองการไกล มีการวางแผนอนาคตของตนเอง มีการรวบรวม
ข้อมูลเพื่อศึกษาผลดี ผลเสียของข้อมูล ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
มีทางเลือกที่หลากหลายในการใช้ชีวิต และคิดเชิงบวก มีเหตุผล
3.   - มีจุดมุ่งหมายของอนาคต
      - เก็บรวบรวมข้อมูล
      - เชื่อมโยงความ
      -สัมพันธ์ 4) วางแผน 
      -ดำเนินการตามแผน

การคิดวิเคราะห์ 
1. การคิดวิเคราะห์ คือ การแบ่งแยกสิ่งที่เราต้องการศึกษาออกเป็นหัวข้อย่อยๆ แล้วเลือกศึกษาไปทีละส่วน
2. คุณลักษณะ คิดเชิงตรรกะ จากเหตุสู่ผล มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในการคิด
3. วิธีการ 
        3.1) มีความเข้าใจในเรื่องที่วิเคราะห์/ให้เหตุผลในสิ่งที่วิเคราะห์  
        3.2) การตีความในสิ่งที่วิเคราะห์ 3) สังเกต/ตั้งคำถาม 5W1H 
        3.3) หาการเชื่อมโยงเพื่อตอบคำถาม
        3.4) คำสำคัญ Keyword ที่บอกให้รู้ว่ามีการคิดวิเคราะห์

การคิดประยุกต์
1. การคิดประยุกต์ คือ การปรับในสิ่งเก่าๆที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์หรือกับงานนั้นๆ การคิดเชิงประยุกต์เป็นการปรับใช้ไม่ใช่การลอกเลียนแบบ
2. คุณลักษณะของการคิดประยุกต์
  •เป็นผู้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  •เป็นผู้ที่มีจินตนาการ
  •เป็นผู้ที่มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น
3. ขั้นตอนของการคิดประยุกต์
  •วิเคราะห์ดูว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนั้นเป็นอย่างไร
  •คิดว่าหากปรับงานเก่าแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป
  •ตรวจสอบดูว่าสิ่งที่ประยุกต์ปรับเปลี่ยนใหม่ นั้นเหมาะสมกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์หรืองานในขณะนั้นหรือไม่


การคิดเชิงบวก
1. การคิดเชิงบวก คือ เป็นการคิดที่สามารถวิเคราะห์หาส่วนดีของตน/คน สิ่งของ และงาน แล้วมาประสมประสานกัน เพื่อให้เกิดงานตามภารกิจที่อยากให้เป็น ให้สามารถบรรลุเป้าประสงค์ให้ได้
2. คุณลักษณะของการคิดเชิงบวก
  -การควบคมอารมณ์ที่ดี
  -การมีความเชื่อมั่นในตนเอง
  -การมองโลกในแง่ดี
  -การยอมรับฟังและให้เกียรติผู้อื่น
  -การกล้าเผชิญกับปัญหาและอุปสรรค
  -การยึดมั่นในหลักคุณธรรม
3. ขั้นตอนของการคิดเชิงบวก
  -มองตัวเองว่าดี
  -มองคนอื่นว่าดี
  -มองสิ่งที่เหลืออยู่ไม่ใช่สิ่งที่ขาดหาย
  -หมั่นบอกตัวเอง
  -ใช้ประโยชน์จากคำว่าขอบคุณ




วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กระทงหลงทาง รึป่าว?


วันลอยกระทง




วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย
สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน มีการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นมากอย่างยิ่งในวันลอยกระทง ผลสำรวจของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 พบว่า เทศกาลลอยกระทงชักนำให้วัยรุ่นไทยร่วมประเวณีกันมากที่สุด มีความเป็นไปได้ที่เยาวชนไทยร้อยละ 38 จะถูกล่วงละเมิดทางเพศในวันลอยกระทง ทั้งนี้ เพราะเทศกาลลอยกระทงจัดในยามค่ำคืน หนุ่มสาวพบเจอกันได้ง่ายและมักเสพสุรายาเมากัน นอกจากนี้ มหาเถรสมาคมยังเปิดเผยด้วยว่า ในภาคอีสานมักจัดงานวัดซึ่งประกอบด้วยการเสพของมึนเมาและจัดแสดงอนาจารในคืนลอยกระทง




ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

  • ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบัลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า ยี่เป็ง หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)
    • จังหวัดเชียงใหม่ มีประเพณี"ยี่เป็ง"เชียงใหม่ ในทุกๆปีจะมีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา และมีการปล่อยโคมลอยขึ้นเต็มท้องฟ้า
    • จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"
    • จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง
  • ภาคอีสาน ในอดีตมีการเรียกประเพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า สิบสองเพ็ง หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองซึ่งจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น
  • ภาคกลาง มีการจัดประเพณีลอยกระทงขึ้นทั่วทุกจังหวัด
    • กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง
    • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงกรุงเก่าขึ้นอย่างยิ่งใหญ่บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ภายในงานมีการจัดแสดงแสง สี เสียง อย่างงดงามตระการตา
  • ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา



ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง



  • เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ
  • เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
  • เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ
  • ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพระยามารได้



อ้างอิง

  1. ^ "ผลสำรวจชี้เด็กเยาวชน 38% เสี่ยงถูกละเมิดทางเพศคืนลอยกระทง". ผู้จัดการ. 27 พฤศจิกายน 2555http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000144617. เรียกข้อมูลเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2555.
  2. ^ "พศ. เข้ม ห้ามเต้นโชว์ดื่มเหล้าในวัดคืนลอยกระทง". ผู้จัดการ. 27 พฤศจิกายน 2555http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000144689. เรียกข้อมูลเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2555.